วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

ไข้หวัดเม็กซิโก



หลังจากประเทศเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา แคนาดา เกิดการแพร่ระบาดเชื้อโรคไข้หวัดเม็กซิโก มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ในส่วนของประเทศไทยมีการเตือนภัย ทำให้ประชาชนที่รับประทานเนื้อสุกรเกิดความหวั่นวิตกจะเป็นอันตราย ทั้งที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้เป็นการติดเชื้อระหว่างคนสู่คนเท่านั้น รายการ คม ชัด ลึก วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2552 เสนอตอน : "วินิจฉัย : โรคไข้หวัดเม็กซิโก" ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาร่วมสนทนาถึงลักษณะของโรค และมาตรการเฝ้าระวังโรคดังกล่าว

นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
"ยังไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศไทย"
ขอยืนยันว่า ไม่พบเชื้อดังกล่าวในประเทศไทยทั้งในคนและสัตว์ และโรคนี้เป็นโรคในคน ไม่เกี่ยวกับสุกร แต่ทำอย่างไรไม่ให้เชื้อเข้าประเทศ เพราะเราทราบแล้วว่าแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด แต่ที่เราทำได้คือ การทำหนังสือแนะ หากมีอาการคล้ายเป็นโรคก็ต้องให้มีการแจ้งเพื่อป็นการคัดกรอง ทั้งนี้ หากมีอาการดังกล่าวเรามียารักษาทันที และมีโอกาสรอด เพราะโรคนี้มีความไวต่อยาทามิฟลู ซึ่งเป็นยาตัวเดียวกับที่รักษา
ไข้หวัดนกเอช 5 เอ็น 1
ขณะนี้สิ่งที่ประชาชนกังวลคือ เชื้อรุนแรงและติดต่อได่ง่ายหรือไม่ เชื่อว่าโรคนี้อนามัยโลกคงมีการหารืออีกครั้ง อาจยกระดับ 4 คือมีการติดต่อคนไปสู่คน แต่อยู่ในประเทศเม็กซิโกควรหลีกเลี่ยง และหากเดินทางเข้ามาก็ต้องมีการตรวจเช็กเป็นกรณีพิเศษ การเพิ่มความเข้มข้นการเฝ้าระวังในประเทศ ทำอย่างไรให้คนป่วยได้รับการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่องค์การอนามัยโลกจะประกาศหรือการยกระดับโรคออกมาต้องระวัง เพราะกระทบหลายเรื่อง เช่น การท่องเที่ยว
ในขณะนี้เรามีความรู้ในระบบการเฝ้าระวังโรคเปลี่ยนไปมาก ความแข็งแรงในเรื่องนี้ เรามีการเตรียมการต่อสู้ คิดว่าสถานการณ์ดีกว่าที่ผ่านมา

ศ.ดร.น.สพ.อรรณพ คุณาวงษ์กฤต คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"ยังไม่พบเชื้อแพร่จากหมูหรือไม่"
หมูเป็นสัตว์ที่รับเชื้อ
ไข้หวัดใหญ่ได้จากทั้งคนและสัตว์ปีก และเป็นสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่เกิดกับคน ตอนนี้ไม่มีการพิสูน์ว่าโรคหวัดหมูแพร่จากหมูหรือไม่ แต่ทราบว่าเป็นเอช 1 เอ็น 1 แต่ต้องดูในรายเอียด หมูเป็นสัตว์ที่มีขนาดคล้ายคนมาก โรคหวัดเป็นโรคที่ติดต่อจากคนไปสัตว์และสัตว์ไปสู่คนได้ แต่หากหมูจะตายส่วนมากก็ตายเพราะโรคของสัตว์เองและไม่มีผลต่อคน ที่น่ากลัวที่เกี่ยวกับหมู และน่ากลัวเคยเกิดที่มาเลเซีย ครั้งนั้นต้องทำลายหมูทั้งประเทศ
การรักษาโรคในหมูจะมีกระบวนการในการกำหนดระบบของสารตกค้าง เพื่อให้ถูกสุขลักษณะ ส่วนการดูแลสุขภาพบางฟาร์มไม่ต้องใช้ยามาก หากมีการระบบการจัดการที่ดี

กิตติวงศ์ สมบุญธรรม เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ
"หมูที่ผลิตออกมาไม่มีโรคหวัดหมูแน่นอน"
โรค
ไข้หวัดใหญ่กับหมูไม่ใช่เรื่องใหญ่ ในหมูไม่กังวลว่าหมูในเมืองไทยจะติดโรคนี้ เพราะอุณหภูมิบ้านเราร้อนกว่า ทำให้การแพร่ระบาดของโรคน้อย ผู้เลี้ยงหมูในประเทศไทยจึงไม่กลัว แต่สงสัยทำไมชื่อไข้หวัดหมู ทั้งที่โรคเกิดจากคนสู่คน และประมาณ 8-9 ปีที่ผ่านมา นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการจัดการระบบฟาร์ม การเลี้ยงดู การนำเข้า มีมาตรฐานมากขึ้น ทำให้มาตรฐานการเลี้ยงสุกรของไทยเป็นอันดับที่หนึ่งในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศไทย 50% เป็นโรงเรือนปิด ทำให้ควบคุมโรคได้ง่าย หากหมูไม่สบายจะใช้วิธีฉีดยาผสมอาหาร และให้ในน้ำกิน ทั้งนี้ ยืนยันว่าหมูที่ผลิตออกมาไม่มีปัญหาโรคดังกล่าวแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น